Cute Polka Dotted Rainbow Bow Tie Ribbon

ยินดีต้อนรับค่ะ

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่นถิน
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 8.30 – 12.20 น.

เวลาเข้าสอน 8.30 น. เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิก 12.20 น.


   จุดมุ่งหมายการสอนคณิตศาสตร์
- เพื่อให้เด็กเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
- เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
- เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
   
   ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
การสังเกต (Observation)
- การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
- โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัถุ
การจำแนกประเภท (Classifying)
- การแบ่งประเภทสิ่งของโดยการหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่ง
- เกณฑ์ในการจำแนก คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

การเปรียบเทียบ (Comparing)
- เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
- เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้
การจัดลำดับ (Ordering)
- เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
- การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

การวัด (Measurement)
- มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
- การวัดสำหรับเด็กปฐมวัยได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
*การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยในการวัด (ไม่ใช้ ซ.ม. , ม. เป็นต้น)
การนับ (Counting)
- เด็กชอบการนับแบบท่องจำ โดยไม่เข้าใจความหมาย
การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเนื่องเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง




รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)
- เก็ดส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- ตัวเลข >> น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี มั้งหมด
- ขนาด >> ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
- รูปร่าง >> สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
- ที่ตั้ง >> บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
- ค่าของเงิน >> สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
- ความเร็ว >> เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
- อุณหภูมิ >> เย็น ร้อน อุ่น เดือด



จากนั้นอาจารย์ก็ให้ดู วีดิโอ พัฒนาการการสอนคณิตศาสตร์ : การเรียนการสอนขั้นพื้นฐานระดับปฐมวัย - Progression in Primary Math : Teaching and Learning - Early Years Foundation Stage

จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทุกคนวาดภาพ การเดินทางจากที่พักมามหาวิทยาลัยโดยให้วาด 3 สถานที่


จากการทำกิจกรรมนี้ สิ่งที่เด็กจะได้รับก็คือ
   - เด็กจะได้ฝึกการเรียงลำดับ ก่อน - หลัง
   - เด็กจะได้ฝึกการนับจำนวนนับ
   - เด็กจะได้ฝึกการเปรียบเทียบ
   - เด็กจะได้ฝึกการวัด ระยะทาง
   - เด็กจะได้ฝึกความรู้เรื่องรูปทรงและขนาด
   - เด็กจะได้ฝึกการสังเกตที่สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว


วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่นถิน
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 8.30 – 12.20 น.

เวลาเข้าสอน 8.30 น. เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิก 12.20 น.



   คณิตศาสตร์ คือ ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน
   
   ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยอาศัยหลักทางคณิตศาสตร์
- เป็นเครื่องมือสำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
- เป็นพื้นฐานของวิชาต่างๆ

   ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส แรกเกิด - 2 ขวบ
2. ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล 2- 7 ขวบ
   - ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
   - เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง ความยาว
   - เล่นบทบาทสมมติในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น เช่น จำนวน ตัวเลข
*เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
*เด็กไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสมความเดิมได้

   การอนุรักษ์ (Conservation)
     สามารถทำได้โดย
- การนับ
- จับคู่ 1 ต่อ 1
- เปรียบเทียบรูปทรงปริมาตร
- เรียงลำดับ
- จัดกลุ่ม

   หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบาย สำรวจความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ผ่านวัสดุอุปกรณ์
- ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น และกิจกรรมที่ลงมือปฏิบัติ
- ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน


อาจารย์ให้แต่ละคนวาดรูปสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขา พร้อมทั้งระบายสี



จากนั้นอาจารย์ก็ให้ใส่รองเท้าให้สัตว์ที่เราวาดตามจำนวนขา



  

จากการเรียนในวันนี้ สามารถนำไปสอนเด็กให้ได้ดีงนี้
1. เด็กได้ฝึกการนับจำนวนนับ 
2. เด็กได้รู้จักรูปทรงต่างๆ



วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่นถิน
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 8.30 – 12.20 น.

เวลาเข้าสอน 8.30 น. เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิก 12.20 น.



วันนี้เป็นการเริ่มเรียนวันแรก
อาจารย์ก็ได้อธิบาย Course Syllabus คล่าวๆ
เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนสำหรับการเรียนวิชานี้ และอาจารย์ก็อธิบายเกี่ยวกับการทำ Blog 
จากนั้น อาจารย์ก็ให้ทำ mind mapping การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




ซึ่งการทำ mind mapping ในวันนี้เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่มาเขียน โดยที่ยังไม่ได้เรียน เพื่อเป็นการแสดงถึงความรู้พื้นฐานของแต่ละคนมีมากน้อยเพียงใด